ประโยชน์ 10 ประการของชาเขียวที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว

ชาเขียวร้อนหนึ่งแก้วบนโต๊ะที่ร้านกาแฟกลางแจ้ง

ชาเขียวคือเครื่องดื่มที่ประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุดในโลก

อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารอาหารที่มีสรรพคุณอันทรงพลังต่อร่างกาย

สรรพคุณต่างๆของชาเขียวประกอบด้วย เสริมการทำงานของสมอง กำจัดไขมัน ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งและประโยชน์อื่นๆที่น่าทึ่งอีกมากมาย

ต่อไปนี้ คือ ประโยชน์ของชาเขียว 10 ข้อที่ดีต่อร่างกายและได้มีการศึกษารับรอง

1. ชาเขียวประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยเสริมสุขภาพ

ชาเขียวเป็นมากกว่าเครื่องดื่ม
สารพฤกษเคมีที่อยู่ในใบชาที่นำมาทำเครื่องดื่ม อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีความสำคัญจำนวนมาก

ชาอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล (polyphenol) ที่มีสรรพคุณในการลดการอักเสบและช่วยต่อสู้กับมะเร็ง
ชาเขียวมีสารโพลีฟีนอลเป็นส่วนประกอบถึง 30 เปอร์เซ็นต์ตามน้ำหนัก รวมทั้งสารคาเทชิน (catechin) ที่ชื่อ EGCG โดยคาเทชิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์เสียหาย อีกทั้งยังมีสรรพคุณอื่นๆ

สารเหล่านี้ช่วยลดการก่อตัวของอนุมูลอิสระในร่างกาย ป้องกันเซลล์และโมเลกุลไม่ให้ได้รับความเสียหาย โดยอนุมูลอิสระเป็นตัวการสำคัญต่อกระบวนการแก่และโรคทุกชนิด

EGCG (Epigallocatechin Gallate) เป็นหนึ่งในสารประกอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่พบในชาเขียว จากการศึกษาพบว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆและอาจเป็นหนึ่งในสารประกอบที่ส่งผลให้ชาเขียวมีสรรพคุณทางการแพทย์ที่ทรงพลัง
นอกจากนี้ ชาเขียวยังประกอบด้วยแร่ธาตุจำนวนหนึ่งที่สำคัญต่อสุขภาพ

แนะนำให้คุณเลือกชาเขียวยี่ห้อที่มีคุณภาพสูงขึ้น เนื่องจากชาเขียวยี่ห้อที่มีคุณภาพต่ำกว่ามีฟลูออไรด์ (fluoride) เป็นส่วนผสมในจำนวนที่มากเกินไป
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคุณจะเลือกชาเขียวที่มีคุณภาพลดลง แต่สรรพคุณยังมากล้นกว่าความเสี่ยงที่จะได้รับ

สรุป ชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอล รวมทั้งสารประกอบคาเทชินที่ชื่อ EGCG โดยสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้มีสรรพคุณมากมายที่ดีต่อสุขภาพ

2. สารประกอบในชาเขียวช่วยเสริมการทำงานของสมองและช่วยให้คุณฉลาดขึ้น

ชาเขียวไม่ได้ทำให้คุณตื่นตัวและกระปรี้กระเปร่าเท่านั้น แต่ยังทำให้คุณฉลาดขึ้นอีกด้วย
สารออกฤทธิ์หลักของชาเขียว คือ คาเฟอีน (caffeine) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นสมอง (stimulant)
ทั้งนี้ ชาเขียวไม่ได้มีปริมาณคาเฟอีนมากเท่ากับกาแฟ แต่มากพอในการกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองโดยไม่ก่อให้เกิดอาการ “กระสับกระส่าย” จากการรับคาเฟอีนมากเกินไป

คาเฟอีนส่งผลต่อสมองด้วยการขัดขวางสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง (inhibitory neurotransmitter) ที่ชื่อ อะดีโนซีน (Adenosine) โดยจะเพิ่มอัตราการยิงสัญญาณของประสาท (firing of neuron) และความเข้มข้นของสารสื่อประสาท อาทิ โดปามีน (dopamine) และ นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine)
มีการศึกษาเกี่ยวกับคาเฟอีนจำนวนมากก่อนหน้านี้และพบว่าคาเฟอีนส่งผลต่อการปรับปรุงการทำงานสมองในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ความใส่ใจ เวลาปฏิกิริยาตอบสนองและความจำ
อย่างไรก็ตาม ชาเขียวไม่ได้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีกรดอะมิโนแอล-ธีอะนีน (L-theanine) ที่สามารถผ่านตัวกั้นกรองระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) ได้

แอล-ธีอะนีน ทำหน้าที่เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง GABA ซึ่งทำหน้าที่ลดความกระวนกระวายใจ นอกจากนี้ ยังเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาทโดปามีนและผลิตคลื่นอัลฟ่า (alpha wave) ในสมอง
จากการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าทั้งคาเฟอีนและแอล-ธีอะนีน มีคุณสมบัติเสริมฤทธิ์กันในการช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น
จากส่วนประกอบทั้งแอล-ธีอะนีนและคาเฟอีนในชาเขียวในปริมาณที่ไม่มากเท่ากาแฟ ช่วยให้คุณรู้สึก “ใจสั่น” ได้น้อยกว่ามาก
มีคนจำนวนมากที่ดื่มชาเขียวได้รายงานว่ามีพละกำลังที่คงที่และมีความสามารถในการทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าการดื่มกาแฟ

สรุป ชาเขียวมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ แต่มากพอต่อการออกฤทธิ์กับร่างกาย นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยกรดอะมิโน แอล-ธีอะนีน ซึ่งเสริมฤทธิ์กับกาแฟในการช่วยให้การทำงานของสมองดียิ่งขึ้น

3. ชาเขียวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันและเพิ่มสมรรถภาพทางกาย

หากคุณดูส่วนประกอบของอาหารเสริมที่ช่วยเผาผลาญไขมัน มีโอกาสที่จะมีชาเขียวเป็นส่วนผสมด้วย
โดยชาเขียวมีสรรพคุณในการเพิ่มการเผาผลาญไขมันและส่งเสริมอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย จาการทดสอบแบบควบคุมกับมนุษย์
ในการศึกษาหนึ่งกับผู้ชายสุขภาพดี 10 คน พบว่าชาเขียวช่วยเพิ่มพลังงานที่ใช้ (energy expenditure) 4%
อีกหนึ่งการศึกษาได้แสดงการเพิ่มขึ้นของปฏิกิริยาออกซิเดชั่นไขมัน (fat oxidation) ถึง 17% ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าชาเขียวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาชาเขียวในบางกรณีไม่ได้แสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของการเผาผลาญพลังงาน ดังนั้น ประสิทธิผลที่ได้อาจขึ้นอยู่กับตัวบุคคล นอกจากนี้ คาเฟอีนยังได้แสดงให้เห็นว่ามีสรรพคุณในการเพิ่มสมรรถภาพทางกายใช้ประโยชน์จากกรดไขมันที่ได้จากเนื้อเยื่อไขมันและนำมาใช้เป็นพลังงาน จากการตรวจสอบทั้งสองการศึกษาแยกกัน พบว่าคาเฟอีนได้แสดงให้เห็นว่าช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกายโดยเฉลี่ยถึง 11-12%

สรุป จากการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าชาเขียวช่วยเสริมอัตราการเผาผลาญพลังงานและเพิ่มการเผาผลาญไขมันในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ทุกการศึกษาไม่ได้ลงความเห็นตรงกัน

ใบชาสดใส่ในถุง การเก็บเกี่ยวผลผลิตใบชา

4. สารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งบางชนิด

มะเร็งเกิดจากการเซลล์ที่เจริญเติบโตขึ้นโดยไม่สามารถควบคุมได้และเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดของโลก
เป็นที่ทราบกันว่าเซลล์ที่เสียหายจากอนุมูลอิสระอาจพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งและสารอนุมูลอิสระมีประสิทธิผลในการป้องกันเซลล์
ชาเขียวเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ จึงมีความสมเหตุสมผลที่ชาเขียวช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งได้เช่นกัน อาทิ:

  • มะเร็งเต้านม: การวิเคราะห์อภิมานจากการศึกษาแบบสังเกต (meta-analysis of observational study) พบว่าผู้หญิงที่ดื่มชาเขียวส่วนใหญ่มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมลดลง 20-30% โดยมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มผู้หญิง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก: การศึกษาหนึ่งได้พบว่าผู้ชายที่ดื่มชาเขียวมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง 48% โดยมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มผู้ชาย
  • มะเร็งลำไส้: จากการวิเคราะห์การศึกษา 29 รายการได้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ดื่มชาเขียวมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ลดลง 42%

การศึกษาแบบสังเกตจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ดื่มชาเขียวมีโอกาสเป็นมะเร็งหลายชนิดลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการวิจัยคุณภาพที่สูงกว่านี้เพื่อรับรองประสิทธิผลดังกล่าว
สิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ การเติมนมลงในชาอาจเป็นความคิดที่ไม่ดีนัก เนื่องจากบางการศึกษาได้เสนอแนะว่านมจะลดคุณค่าของสารต้านอนุมูลอิสระในชา

สรุป ชาเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพที่อาจช่วยป้องกันมะเร็งได้ การศึกษาจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่าผู้ดื่มชาเขียวมีโอกาสเป็นมะเร็งหลายชนิดลดลง

5. ชาเขียวช่วยป้องกันสมองเมื่ออายุมากขึ้น ลดความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน

นอกจากชาเขียวจะช่วยให้สมองทำงานดีขึ้นในระยะสั้นแล้ว อาจช่วยป้องกันสมองของคุณเมื่ออายุมากขึ้นเช่นกัน
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสี่ยงของเซลล์ประสาท (neurodegenerative disorders) ที่พบมากที่สุดในมนุษย์และเป็นสาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม (dementia)
โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสี่ยงของเซลล์ประสาทที่พบมากเป็นอันดับสองและสัมพันธ์กับการถูกทำลายของโดปามีนที่สร้างเซลล์ประสาทในสมอง
การศึกษาจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่าสารประกอบคาเทชินในชาเขียวมีผลเชิงป้องกันต่อระบบประสาทในหลอดทดลองและการทดลองในสัตว์ มีประสิทธิภาพในการช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน

สรุป สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในชาเขียวมีผลเชิงป้องกันต่อสมอง โดยช่วยลดความเสี่ยงการเกิดทั้งโรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน ซึ่งเป็นสองโรคที่พบมากที่สุดในกลุ่มโรคความเสี่ยงของเซลล์ประสาท

6. ชาเขียวช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ส่งผลต่อสุขภาพของฟันและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

สารคาเทชินในชาเขียวยังมีผลทางชีวภาพด้วยเช่นกัน จากบางการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าสารคาเทชินช่วยฆ่าแบคทีเรียและยับยั้งเชื้อไวรัส อาทิ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เช่นกัน แบคทีเรียชนิดสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutans) เป็นแบคทีเรียที่ส่งผลเสียภายในช่องปาก โดยก่อให้เกิดคราบและฟันผุ การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าสารคาเทชินในชาเขียวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ การบริโภคชาเขียวสัมพันธ์กับสุขภาพฟันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคฟันผุ การศึกษาจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่าชาเขียวช่วยลดกลิ่นปาก

สรุป สารคาเทชินในชาเขียวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและไวรัสบางประเภทได้ ส่งผลให้ช่วยลดการติดเชื้อและช่วยให้สุขภาพฟันดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคฟันผุและลดกลิ่นปาก

7. ชาเขียวอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2

เบาหวานประเภทที่ 2 คือ โรคที่เกิดขึ้นในกลุ่มประชากรจำนวนมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาและในตอนนี้มีผู้ป่วยทั่วโลกกว่า 400 ล้านราย
โรคนี้สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นในบริบทของภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) หรือ การที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าชาเขียวช่วยเสริมความไวต่ออินซูลิน (insulin sensitivity) และลดระดับน้ำตาลในเลือด หนึ่งการศึกษาในกลุ่มชาวญี่ปุ่นพบว่าผู้ที่ดื่มชาเขียวมากที่สุดมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ลดลง 42%
จากการตรวจสอบ 7 การศึกษาในกลุ่มผู้เข้าร่วม 286,701 ราย ผู้ดื่มชาเขียวมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานลดลง 18%

สรุป บางการทดลองแบบกลุ่มควบคุมได้แสดงให้เห็นว่าชาเขียวช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้เช่นกัน

ดื่มชาเขียวสไตล์จีน

8. ชาเขียวอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลก การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าชาเขียวช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคเหล่านี้ได้ ซึ่งประกอบด้วยคอเลสเตอรอลรวม (total cholesterol) คอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล (LDL cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)
ทั้งนี้ ชาเขียวช่วยเพิ่มความความสามารถของสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันอนุภาคแอลดีแอล (LDL particle) จากการออกซิเดชั่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ จากประสิทธิผลที่ป้องกันความเสี่ยงนี้ จึงไม่แปลกใจที่ผู้ดื่มชาเขียวมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงถึง 31%

สรุป ชาเขียวได้แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการลดคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอล รวมทั้งป้องกันอนุภาคแอลดีแอลจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จากการศึกษาแบบสังเกตได้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ดื่มชาเขียวมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง

9. ชาเขียวช่วยลดน้ำหนักและลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคอ้วน

ชาเขียวช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญพลังงานในระยะสั้น ดังนั้น จึงช่วยคุณลดน้ำหนักได้ด้วยเช่นกัน จากการศึกษาจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่าชาเขียวช่วยลดไขมันในร่างกายโดยเฉพาะไขมันบริเวณท้อง
หนึ่งในการศึกษาดังกล่าว คือ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) ในกลุ่มผู้ชายและผู้หญิงจำนวน 240 ราย ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ในการศึกษานี้ กลุ่มที่ดื่มชาเขียวมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย น้ำหนัก รอบเอวและไขมันหน้าท้องลดลง อย่างไรก็ตาม บางการศึกษาไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการดื่มชาเขียวช่วยลดน้ำหนักอย่างเป็นนัยยะสำคัญทางสถิติ ดังนั้น จึงต้องใช้วิจารณญาณก่อนที่จะเชื่อ

สรุป บางการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าชาเขียวช่วยให้น้ำหนักลดได้มากขึ้น และอาจช่วยลดปริมาณไขมันหน้าท้องที่เป็นอันตรายได้เช่นกัน

10. ชาเขียวอาจช่วยให้คุณอายุยืนขึ้น

แน่นอนว่าเราทุกคนต้องตายไม่ช้าก็เร็วเพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ดื่มชาเขียวมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งลดลง จึงช่วยให้มีอายุที่ยืนยาวขึ้น
จากการศึกษาผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่นจำนวน 40,530 ราย ผู้ที่ดื่มชาเขียวมากที่สุด (มากกว่า 5 แก้วต่อวัน) มีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่ามากในช่วงเวลา 11 ปีของการศึกษา:

  • การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ: ลดลง 23% ในกลุ่มผู้หญิงและลดลง 12% ในกลุ่มผู้ชาย
  • การเสียชีวิตจากโรคหัวใจ: ลดลง 31% ในกลุ่มผู้หญิงและลดลง 22% ในกลุ่มผู้ชาย
  • การเสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน: ลดลง 42% ในกลุ่มผู้หญิงและลดลง 35% ในกลุ่มผู้ชาย

อีกหนึ่งการศึกษาในกลุ่มผู้สูงชีวิตชาวญี่ปุ่น 14,001 ราย พบว่าผู้ที่ดื่มชาเขียวมากที่สุด มีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่า 76% ในช่วง 6 ปีของการศึกษา

สรุป การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าผู้ดื่มชาเขียวมีแนวโน้มอายุยืนกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม

ยังมีอะไรอีกไหม

หากคุณต้องการรู้สึกดีขึ้น ลดน้ำหนักและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง ได้เวลาพิจารณาการดื่มชาเขียวให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคุณแล้ว



ข้อมูลอ้างอิง

  1. Harvard Health Publishing. "Ask the doctor: Drinking green tea may lower health risks"
  2. Trends in Food Science & Technology. เล่ม 10, ฉบับ 6-7, มิถุนายน 1999, หน้า 199-204
  3. Psychology Today. "What You Need to Know About L-theanine"
  4. MedicalNewsToday.com. "Does L-theanine have health benefits?"

บทความนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆเช่นกัน: ภาษาอังกฤษ, ภาษารัสเซีย, ภาษาสเปน, ภาษาเวียดนาม

เกี่ยวกับผู้เขียน

Dr. Kristie Leong

แพทย์หญิงคริสตี้ หลง (Kristie Leong) เป็นแพทย์ประจำบ้านผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการและวิถีชีวาเวชศาสตร์ (lifestyle medicine) สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย คอมมอนเวลธ์ ในปี 1990 และเขียนผลงานเกี่ยวกับโภชนาการและบทบาทที่มีต่อสุขภาพรวมทั้งการป้องกัน

หากคุณต้องการเชื่อมต่อกับ Kristie คุณสามารถติดตามได้ที่ Twitter, Facebook, Instagram และ Quora